วัฒนธรรมกับความเชื่อที่มีต่อดนตรี
ในสมัยโบราณมีความเชื่อกันว่าดนตรี คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถติดต่อสื่อสารกับวิญญาณและใช้ขับไล่สิ่งชั่วร้ายต่างๆ
ได้ เสียงดนตรียังสามารถสร้างความกล้าหาญ เมื่อได้ฟังแล้วมีความฮึกเหิมในการสู้รบ
เสียงตีเกราะเคาะไม้ของคนป่าก็แสดงถึงกิจกรรมของแต่ละเผ่าที่มีการเล่นเครื่องดนตรีที่เก่าแกและ
โบราณ
ดนตรีไม่ว่าจะเป็นดนตรีชนิดใดประเภทใด
ล้วนแล้วแต่มีวิธีการกำเนิดคล้ายๆ
กันนับเป็นเวลาหลายพันปีดนตรีส่วนผู้ใหญ่ที่ได้ยิน มักมีรากฐานมาจากดนตรีพื้นเมือง(Folk
Music) หรือเพลงในศาสนพิธี (Ritual Music) เช่นเพลงเพื่อประกอบพิธีการทางศาสนาของชาวฮินดู
และกรีกโบราณซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากประเทศที่มีอารยธรรมที่เก่าแก่กว่า เช่น
อียิปต์ ซีเรีย
ชาวกรีกโบราณได้ค้นพบศาสตร์เบื้องต้นของเสียงดนตรี (Acoustics) มากกว่า ๒๐๐๐ ปีมาแล้วโดยพีทากอรัส (Pythagoras) นักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งได้ค้นพบลักษณะเสียงแบบต่างๆ
ทีเกิดขึ้นตามสัดส่วนของเครื่องดนตรี
โดยทำการทดสอบการสั่นของสายเครื่องดนตรีที่ขึงตึงไว้
และได้แบ่งเสียงที่แตกต่างกันนั้นแล้วจัดเป็นมาตราเสียงดนตรี
ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างสรรค์ผลงานเพลงที่มีรูปแบบทำนองและองค์ประกอบของดนตรี
จากความเชื่อของมนุษย์ในเรื่องต่างๆ
ก่อนจะมาสร้างสรรค์งานดนตรีที่เป็นมรดกตกทอดทางด้านศิลปะมาจนถึงปัจจุบัน
มีตัวอย่างข้อความที่แสดงถึงความเชื่อของแต่ละวัฒนธรรม ดังนี้
วัฒนธรรมของกรีกโบราณ เชื่อวาบุคคลที่ทำหน้าที่ขับร้องเพลงและบรรเลงเครื่องดนตรีเพื่อขับกล่อมผู้คนหรือทีเรียกว่า “มินสเตริล” เป็นผู้ที่พระเจ้ามีความโปรดปรานและถือเป็นทูตสวรรค์เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดคำสั่งสอนของพระเจ้าในรูปแบบของการขับร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรี
วัฒนธรรมของชาวยิวโบราณ เชื่อว่า “จูบาล” ซึ่งเป็นทายาทของอาดัมผู้ซึ่งเป็นมนุษย์คนแรกของโลกนั้นเป็นคนที่สร้างเครื่องดนตรีคือ
พิณฮาร์พและออร์แกน เพื่อใช้ในการบรรเลงวัฒนธรรมของชาวจีน
เชื่อว่าบันไดเสียงหรือทำนองเพลงของชาวจีนได้มาจากการเลียนแบบ
เสียงร้องของนกฟีนิกซ์
วัฒนธรรมของคนไทยภาคกลาง เชื่อว่าเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ของไทยเป็นเพลงศักดิ์สิทธิ์
สามารถใช้เป็นเพลงอัญเชิญเทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มายังมณฑลพิธีได้
วัฒนธรรมของคนไทยภาคเหนือ เชื่อว่าเสียงกลองและฆ้องเป็นเสียงที่ศักดิ์สิทธิ์
ใช้ตีเพื่อประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เช่น แห่พระพุทธรูป แห่งานปอยหลวง (งานบุญใหญ่)
วัฒนธรรมของคนไทยภาคอีสาน เชื่อว่าเสียงแคนสามารถติดต่อสื่อสารกับเทพบนสวรรค์โดยเปรียบแคนเป็นเสมือนม้าให้เทพใช้เดินทางลงมายังสถานประกอบพิธีกรรมในการลำ (ขับร้อง)เพื่อรักษาโรคต่างๆ
วัฒนธรรมของคนไทยภาคใต้ เชื่อว่าปี่กาหลอเป็นปี่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้เป่าในพิธีกรรมงานศพและงานบวช
โดยต้องพันสายสิญจน์ไว้ที่ปากลำโพงของปี่ขณะเป่าประกอบในพิธี
ด้วยความเชื่อเหล่านี้จึงปรากฏผลงานดนตรีที่มีการสร้างสรรค์ออกมาแตกต่างกันตามแต่ละวัฒนธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น