ความสำคัญของดนตรีต่อสังคม

 ความสำคัญของดนตรีต่อสังคม

                 ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆ กับมนุษย์เรานั่นเอง ในยุคแรกๆ มนุษย์เรายังอาศัยอยู่ในป่าดง ในถ้ำ 
แม้ในโพรงไม้ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ เช่นรู้จักการปรบมือ เคาะหิน เคาะไม้ เป่า ปาก เป่าเขา เป็นต้น พร้อมกันนั้นก็มีการเปล่งเสียงร้องออกมาตามเรื่อง การร้องรำทำเพลงของมนุษย์ ในยุคนั้นก็ทำไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า เพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ ให้แก่ตน หรือเพื่อเป็นการบูชา แสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย
โลกได้ผ่านมาหลายยุคหลายสมัย ดนตรีก็ได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญ และความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เครื่องดนตรีในสมัยเริ่มแรกที่เคยใช้ก็ได้วิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ กลายเป็นเครื่องดนตรี ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เพลงที่เคยร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนาและ เพลงร้องโดยทั่วๆ ไปเป็นต้น


ประโยชน์ของดนตรี
          ร่างกายของมนุษย์เราเจริญเติบโตได้ด้วยอาหาร นอกจากคนเราจะรับประทานอาหารทางปากแล้ว ยังต้องการอาหารทางหู ทางตา ทางใจ และทางสมองอีก ศิลปะการดนตรีและการละครเป็นอาหารของหูและตา วรรณคดีและศาสนาเป็นอาหารทางใจและสมอง อาหารเป็นสิ่งจำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างการ ศิลปะของการดนตรีและ ละครก็เป็นประโยชน์ก่อให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจ ขัดเกลาจิตใจให้ผ่องใสเกิดความสามัคคี และเพื่อการพักผ่อนในเมื่อร่างกาย และสมองได้รับความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการทำงาน คนเราทุกคนมีความเป็นนักดนตรีอยู่ในตนเอง บางคนแม้ไม่สามารถ เล่นดนตรีหรือร้องเพลงได้ ก็ยังชอบฟังและชอบดูศิลปะการดนตรีและละครมีความสำคัญไม่น้อยกว่าศิลปะประเภทอื่น เป็นรากฐานแสดงถึงความเจริญของประเทศชาติทางหนึ่ง คือเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องส่งเสริมให้ดำรงสืบต่อไป ศิลปะประเภทนี้ต้องใช้เวลาสั่งสอนอบรมกันมาก หากไม่มีการถ่ายทอดสืบต่อกันอาจจะเสื่อมสูญไปได้ การดนตรีและละครของไทย เป็นสมบัติอันมีค่าของชาติ เป็นสิ่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงอุปนิสัยใจคอของคนไทยได้ว่า คนไทยหรือชาติไทยเป็นชาติที่มีอารมณ์เบิกบาน มีความกรุณากล้าหาญอันจะสังเกตได้จากศิลปะการดนตรีและละคร ซึ่งดำเนินไปด้วยความอ่อนโยนและนิ่มนวล การที่เราได้ฟังเพลงเกิดความรู้สึกคึกคักร่าเริง จะเป็นเพลงชาติใดภาษาใดก็ตาม เหล่านี้เกิดจากศิลปะของการดนตรีทั้งสิ้น นักประพันธ์เพลงจะต้องถือกฎเกณฑ์อันเป็นระเบียบ มีวิธีแต่งและวิธีบรรเลงอย่างมี หลักเกณฑ์รวมทั้งฝีมือของผู้บรรเลงด้วย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจและเกิดความชำนิชำนาญเสียก่อน ใน สมัยก่อน ความเจริญ และความเสื่อมของศิลปะ อยู่ที่ความร่มเย็นเป็นสุขของบ้านเมือง ในเวลาบ้านเมืองสงบ ศิลปะทั้งปวงก็ เจริญรุ่งเรือง

         ดนตรีกับการเคลื่อนไหวทางสังคม และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองไทยนั้น คำอธิบายถึงปรากฏการณ์ที่ชัดเจนมีหลาย ๆ ช่วงเวลา ดังเช่น สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ที่คณะผู้ก่อการพยายามสร้างเพลงชาติขึ้นมาใหม่ โดยให้เหตุผลว่าเพลงที่เกิดขึ้นมาใหม่เป็นของประชาชน เพลงสรรเสริญพระบารมีที่มีอยู่แล้วเป็นเพลงของพระมหากษัตริย์ ซึ่งภาพสะท้อนดังกล่าวเป็นการสร้างความชอบธรรมให้เห็นความต่างที่ชัดเจนกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย หรืออีกปรากฏการณ์หนึ่งในยุคสมัยจอมพลป.พิบูลสงครามได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีนโยบายเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามประเทศมาเป็นประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๒ และได้ทำการปรับปรุงเพลงชาติเพื่อให้เข้ากับชื่อประเทศที่เปลี่ยนใหม่ รวมทั้งยุคดังกล่าวเป็นยุคของความพยายามสร้างชาติใหม่ ซึ่งมีหลายปัจจัยส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนในสังคมทุกระดับ เช่น การให้ประชาชนทุกคนทำความเคารพเพลงชาติในตอนเช้าเวลา ๘.๐๐ น. และเย็นเวลา ๑๘.๐๐ น. ซึ่งทุกคนจะต้องหยุดยืนตรง ซึ่งประชาชนบางคนก็มีความรู้สึกชื่นชมแต่บางคนก็รู้สึกขบขันต่อสิ่งที่ได้กระทำ
 จากนโยบายดังกล่าวทำให้เกิดเอกลักษณ์ใหม่ของสังคมที่ปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น